1. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศไทย
2. เป็นมหาวิทยาลัยเดียวในประเทศ ที่ไม่ได้ขึ้นต้นด้วยคำว่า "มหาวิทยาลัย"
3. เป็นมหาวิทยาลัยเดียวที่ไม่มีป้ายชื่อมหาวิทยาลัย มีแต่เพียงป้ายบอกอาณาเขต
4. เป็นมหาวิทยาลัยที่ สถาปนาโดย พระมหากษัตริย์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ มาลงเสาเอกด้วยพระองค์เอง
5. จุฬาฯ เป็นสถานที่ที่เกิดขึ้นจากความรักของ 2 พระองค์ที่มีแก่กัน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระประสงค์อยากให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยแห่งนี้เป็นอนุสรณ์ในพระราชบิดาของพระองค์ คือ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
6. เมื่อก่อนชื่อ "จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย" ไม่มีการันต์ เป็นคำสมาสที่ไม่ได้อ่าน กะ-ระ-นะ อ่านว่า" กอน " เฉย ๆ แต่มาสมัยจอมพล ป. รัฐบาลชุดนั้นก็ได้มาเปลี่ยนให้มีตัวการันต์ เพราะเขาบอกว่า ถ้าไม่อย่างนั้นก็ต้องอ่าน " กะ-ระ-นะ " ก็เลยต้องมีตัวการันต์จนถึงปัจจุบันนี้ -_-"
7. พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้บัญญัติว่า พระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระบรมราชูปถัมภกแห่งโรงเรียนข้าราชการพลเรือนฯ และเป็นพระราชปฏิบัติว่าพระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรีเป็นพระบรมราชูปถัมภกของสถาบันนี้ตลอดมาจนถึงปัจจุบันและตลอดไป (ด้วยเหตุนี้มหาวิทยาลัยแรกแห่งกรุงสยามได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบรมราชูปถัมภกแห่งจุฬาฯ ตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงปัจจุบัน 5 พระองค์)
8.เงินที่นำมาสร้างจุฬาฯ คือ เงินบริจาคของประชาชนครับ เงินที่เหลือจากการบริจาคสร้างพระบรมรูปทรงม้า เรียกว่า "เงินหางม้า"
9. พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานที่ดินของพระคลังข้างที่จำนวน 1,309 ไร่ ซึ่งอยู่ที่อำเภอปทุมวัน ให้เป็นสถานที่ตั้งของจุฬาฯ นอกจากนี้ ได้พระราชทานเงินทุน เป็นทุนก่อสร้างโรงเรียน
10. ถ้าจะนับเวลาที่จุฬาฯ เกิดขึ้นจริง ๆ แล้ว โดยที่ไม่นับรวมว่าใช้ชื่อสถาบันว่าอะไรก็ตั้งแต่ปีพ.ศ.2442 ในขณะนั้นยังใช้ชื่อว่า "สำนักวิชาฝึกหัดข้าราชการฝ่ายพลเรือน" (ร้อยกว่าปีผ่านมา...)
11. คณะก่อตั้งจุฬาฯ 4 คณะแรก คือ รัฐศาสตร์,วิดวะ ,แพทย์ และ อักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์
12. คณะรัฐศาสตร์ มีเค้ากำเนิดมาตั้งแต่โรงเรียนฝึกหัดวิชาข้าราชการฝ่ายพลเรือนพ.ศ. 2442 (ร.ศ.118) ต่อมาเปลี่ยนเป็นโรงเรียนมหาดเล็กในสมัยรัชกาลที่ 5 และได้ยกเป็นโรงเรียนข้าราชการพลเรือนในสมัยรัชกาลที่ 6 จนกระทั่งเป็น 1 ใน 4 คณะแรกของจุฬาฯ โดยใช้ชื่อว่า "คณะรัฏฐประศาสนศาสตร์" ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น “คณะนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์” ในปี พ.ศ.2476 ต่อมารัฐบาลได้ให้คณะดังกล่าวไปขึ้นต่อมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง ซึ่งจัดตั้งขึ้นใหม่ ครั้นเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ.2491 ได้มีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งคณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ ขึ้นใหม่อีกครั้งหนึ่ง และคณะเศรษฐศาสตร์ก็เคยเป็นแผนกหนึ่งในคณะรัฐศาสตร์มาก่อนที่จะจัดตั้งเป็นคณะด้วย
13. เมื่อก่อน ศิริราช คือ คณะแพทย์ของจุฬาฯ ต่อมาเมื่อมีการตั้งมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ คณะแพทย์ เภสัช ทันตะ ก็ไปสังกัดมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ จึงเป็นการสิ้นสุดคณะแพทย์ที่สังกัดจุฬา ต่อมา รัชกาลที่ 8 ทรงพระราชดำริสมควรมีคณะแพทย์แห่งใหม่ จึงเลือกตั้ง คณะแพทย์ ร.พ.จุฬาลงกรณ์ ดังนั้น คณะแพทย์ ที่สังกัดจุฬาจึงกำเนิดขึ้นอีกครั้ง(พ.ศ.2490) และนับเป็นรุ่นที่ 1(พ.ศ.2496) ตั้งแต่นั้นมา
14. จะเห็นได้ว่า ชาวคณะรัฐศาสตร์กับนิติศาสตร์ จุฬาฯ มีความผูกพันกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แต่ชาวคณะแพทยศาสตร์/ทันตะ/เภสัช จุฬาฯ จะมีความผูกพันกับมหาวิทยาลัยมหิดล
15. “พระเกี้ยว” พระพิจิตรเลขาประจำรัชกาลที่ 5 เป็นตราสัญลักษณ์ประจำจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเป็นเครื่องหมายแห่งความภาคภูมิใจของนิสิตจุฬาฯ ทุกคน
16. เข็มพระเกี้ยวต้องติดที่อกเบื้องขวา เพราะเป็นของพระราชทาน (ของพระราชทานจะติดที่เบื้องขวา)
17. เพลงพระราชนิพนธ์ มหาจุฬาลงกรณ์ เพลงประจำมหาวิทยาลัย แต่ก่อนเคยใช้เป็นเพลงมหาฤกษ์
18. สีประจำมหาวิทยาลัย คือ สีชมพู เป็นสีประจำวันพระราชสมภพของรัชกาลที่ 5 อัญเชิญมาใช้ครั้งตอนงานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์
19. จามจุรี เป็นต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย มีอยู่ 5 ต้นที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ มาปลูกด้วยพระองค์เอง โดยพระองค์ทรงนำต้นจามจุรีทั้ง 5 ต้นมาจากพระราชวังไกลกังวล หัวหินด้วยพระองค์เอง และมิได้แจ้งทางมหาวิทยาลัยล่วงหน้า นำความปลาบปลื้มมาสู่ชาวจุฬาฯทุกคน และยังได้พระราชทานพระราชดำรัสถึงความผูกพันระหว่างชาวจุฬาฯ กับจามจุรีว่ามีมานานตั้งแต่สร้างมหาวิทยาลัย ทรงเน้นว่า “ดอกสีชมพู” เป็นสัญลักษณ์สูงสุดอย่างหนึ่งของจุฬาฯ พระองค์ทรงเห็นว่าจามจุรีที่นำมานั้นโตขึ้น สมควรจะเข้ามหาวิทยาลัยเสียที และสถานที่นี้เหมาะสมที่สุด "จึงขอฝากต้นไม้ไว้ห้าต้นให้เป็นเครื่องเตือนใจตลอดกาล"
20. เครื่องแบบการแต่งกายของนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นเครื่องแบบแห่งแรกและเพียงแห่งเดียวของประเทศไทยที่ได้รับพระราชทานมาจากองค์พระมหากษัตริย์ และเป็นแห่งแรกที่มีการสวมใส่เครื่องแบบนิสิต นอกจากนี้ เครื่องแบบนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นเครื่องแบบของมหาวิทยาลัยเพียงแห่งเดียวของประเทศไทยที่ถูกตราไว้ในพระราชกฤษฎีกา พ.ศ.2498 (เป็นเกียรติ เป็นศรี เป็นศักดิ์ - - เป็นเอกลักษณ์งามสง่า - - สวมชุดนิสิตจุฬาฯ - - ประกาศค่า “จุฬาลงกรณ์”)
21. จีบด้านหลังของเสื้อนิสิตหญิง เป็นสัญลักษณ์แทนสไบ (สะ-ไบ) แปลว่า ผ้าแถบ,ผ้าห่มผู้หญิง ส่วนที่ตลบกลับตรงท้องแขนของเสื้อนิสิตหญิง เป็นสัญลักษณ์แทนพาหุรัด แปลว่า เครื่องประดับ,กำไลแขน,ทองต้นแขน ซึ่งเป็นเครื่องประดับชั้นสูง
22. พิธีพระราชทานปริญญาบัตรครั้งแรกที่เกิดขึ้นในประเทศไทย เกิดขึ้นที่จุฬาฯ โดยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์พระราชทานให้แก่นิสิตคณะแพทยศาสตร์เป็นที่แรก
23. ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อหลายสิบปีผ่านมาแล้ว ผู้ร่วมเหตุการณ์หลาย ๆ คนคงยังจำได้แม่นยำขึ้นใจ โดยเฉพาะนิสิตชายคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ปี 5 ที่โดนคัดชื่ออกจากจุฬาฯ ในปีการศึกษาสุดท้ายของตนคนนั้น ...ในขณะรถยนต์พระที่นั่งของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเคลื่อนที่ผ่านพิธีตั้งซองรับเสด็จฯ ของนิสิตปี 1 ... นิสิตชายคนนั้นได้วิ่งเข้ามาขวางรถยนต์พระที่นั่งและหมอบกราบลงกับพื้นถนน ... ท่ามกลางความตื่นตกใจของทุกคน ณ ตรงนั้น ... นิสิตชายคนนั้นได้ถวายฎีกาแก่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องจากเขาถูกคัดชื่อออกเพราะมีเรื่องวิวาทกับนิสิตคณะวิทยาศาสตร์ซึ่งโดนคัดชื่อออกจากจุฬาฯ เช่นกัน ... เขาขอศึกษาต่อ เพราะเป็นปีสุดท้ายแล้ว ในปีนี้เพื่อน ๆ ร่วมชั้นปีได้เข้ารับพระราชทานปริญญาบัตรกันหมด แต่เขาถูกเพิกถอนสิทธิ์ศึกษาต่อในจุฬาฯ ... ด้วยพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงนำความนี้เข้าที่ประชุม และให้นิสิตชายคนนั้นได้ศึกษาต่อ ... ในปีการศึกษาถัดมา เขาได้เข้ารับพระราชทานปริญญาบัตรจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ... เขาได้เข้าถวายตัวกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมมหาราชวัง เป็นสถาปนิก ทำงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริตและจงรักภักดีตลอดอายุการทำงานของเขา ... เมื่อปลายปี 2547 เขาคนนี้เพิ่งเกษียณอายุงานจากการเป็นสถาปนิกในพระบรมมหาราชวังตลอดมา
24. จุฬาฯ เป็นมหาวิทยาลัยแรกที่ใช้คำว่า " นิสิต-นิสิตา"
25. จุฬาฯ เป็นสถาบันเดียวที่มีสมเด็จเจ้าฟ้าอาจารย์ 4 พระองค์ ได้แก่ - 4 ตุลาคม 2461 สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราชัย เสด็จมารับราชการที่จุฬาฯ นับเป็นเจ้าฟ้าอาจารย์พระองค์แรกของจุฬาฯ ในครั้งนั้นท่านทรงสอนวิชาภาษาอังกฤษที่คณะรัฏฐประศาสนศาสตร์- พ.ศ. 2467-2468 สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ทรงสอนวิชา vertebrate anatomy แก่นิสิตคณะแพทยศาสตร์ ทรงริเริ่มและสอนวิชาอารยธรรมและประวัติศาสตร์แก่นิสิตทุกคณะที่ลงทะเบียน ทรงเป็นสมเด็จเจ้าฟ้าอาจารย์องค์ที่ 2- มิถุนายน 2495-2501 สมเด็จพระพี่นางฯ ทรงเคยเป็นอาจารย์สอนนิสิตชั้นปีที่ 4 คณะอักษรศาสตร์ วิชาวรรณคดีฝรั่งเศส และ phone'tiquie สำหรับนิสิตปี 3 และ conversation ให้แก่นิสิตชั้นปีที่ 2 เมื่อพระองค์ท่านมีทรงงานเยอะขึ้น จึงต้องล้มเลิกการสอนไป (ถ้านิสิตคนไหนอยากดูพระฉายาลักษณ์ตอนที่ท่านเคยสอนนิสิตคณะอักษรศาสตร์ ลองไปดูที่หอประวัติจุฬาฯ ชั้นสองได้ มีรูปและคำบรรยายประกอบด้วย) พระองค์ท่านทรงเป็นสมเด็จเจ้าฟ้าอาจารย์องค์ที่ 3- พ.ศ. 2522 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงสอนวิชาอารยธรรมแก่นิสิตที่ลงทะเบียนเรียนตามโครงการการศึกษาทั่วไป ทรงเป็นสมเด็จเจ้าฟ้าอาจารย์องค์ที่ 4
26. พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์ ทรงเข้าศึกษาในคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ในปีการศึกษา 2548
27. พระยาอุปกิตศิลปสาร เป็นอาจารย์สอนคณะอักษรศาสตร์ และได้สร้างกฎไว้ว่า ก่อนที่ท่านจะเข้ามาสอน-หลังจากสอนเสร็จ-พบกันในเวลาอื่น ๆ ให้นิสิตทุกคนไหว้ท่าน เพื่อเป็นการเคารพผู้เป็นอาจารย์ที่ให้วิชาแก่ตน และแสดงความนอบน้อมต่อผู้อาวุโสกว่า ซึ่งเป็นคณะแรกที่สอนแบบนี้
28. จุฬาฯ มี 5 ฝั่งนะ ได้แก่- ฝั่งแรก คือ ฝั่งอนุสาวรีย์สองรัชกาล หน้าหอประชุมใหญ่ เป็นที่รวมของหลายๆคณะ...- ฝั่งที่ 2 คือ ฝั่งหอกลาง เป็นที่ตั้งของคณะอีก 3 คณะ คือ นิเทศฯ นิติฯ ครุฯ...- ฝั่งที่ 3 คือ ฝั่งสยามสแควร์ เป็นที่ตั้งของคณะทันตะ,สัตวะ,เภสัช...- ฝั่งที่ 4 คือ ฝั่งหลังมาบุญครอง เป็นที่ตั้งของคณะสหเวช,จิตวิทยา,วิทย์ฯกีฬา และคณะพยาบาล - ฝั่งสุดท้าย คือ ฝั่ง ร.พ. จุฬาฯ คือ ที่ตั้งของ คณะแพทยศาสตร์
29. โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ไม่ใช่ของจุฬาฯ แต่เป็นของสภากาชาดไทยนะ ว่างๆก็ไปบริจาคเลือดที่สภากาชาดนะ
30. เพียงท่านพลิกแบงค์ 100 บาท ท่านก็จะเห็นพระบรมรูป 2 รัชกาล คือ รัชกาลที่ 5 และ ที่ 6 ที่ประดิษฐานที่จุฬาฯ (เป็นมหาวิทยาลัยแห่งเดียวในไทยด้วยที่มีพระบรมรูปแบบเดียวกับในธนบัตร)
31. จุฬาฯ ยึดธรรมเนียมปฏิบัติไว้ว่าก่อนที่จะเข้ามาศึกษาชั้นปีที่ 1 ต้องมีพิธีการถวายสัตย์ และ พอตอนเรียนจบปริญญาตรีก็ต้องมีพิธีการถวายบังคมลา นิสิตปี 1 ที่ได้มาถวายสัตย์จะรู้สึกว่าเริ่มต้นชีวิตนิสิตใหม่อย่างสมบูรณ์ และภาคภูมิใจในจุฬาฯ และสถาบันกษัตริย์ ในปีการศึกษา 2548 พิธีการถวายสัตย์นั้น พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์ เป็นผู้นำถวายสัตย์
32. เทวาลัย หอประชุมใหญ่จุฬาฯ เป็นสถาปัตยกรรมที่ผสมผสานทั้งแบบตะวันออกและตะวันตก ผู้ออกแบบเป็นชาวต่างชาติ
33. เคยสงสัยกันไหมว่า ทำไมอาคารหลังแรกของจุฬาฯ นั้น (คืออาคารมหาจุฬาลงกรณ์) ต้องสร้างให้เป็นแบบไทยผสมตะวันตก ทั้ง ๆ ที่ในขณะนั้นค่านิยมการสร้างอาคารต้องสร้างให้ทันสมัยแบบตะวันตก ก็เพราะว่า พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น มิได้สร้างวัดประจำรัชกาลของพระองค์ จึงมีพระประสงค์สร้างอาคารมหาจุฬาลงกรณ์ เป็นสถาปัตยกรรมรูปแบบไทยผสมตะวันตกเพื่อแทนการสร้างวัดประจำรัชกาล และพระองค์มีพระประสงค์ให้ "เรียนศาสตร์ใหม่ การศึกษาก้าวหน้า รักษาภูมิปัญญาตะวันออก"
34. หอกลาง ไว้นอนหลับ อ่านหนังสือ เล่นเน็ท ดูหนัง ฟังเพลง MSN และจะกลายเป็นตลาดนัดในช่วง Midterm กับ Final
35. หอพักนิสิตจุฬาฯ มี 5 หอ คือ จำปี พุดตาล พุดซ้อน เฟื่องฟ้า ชวนชม หอนอก หอพักพวงชมพู ยูเซ็นเตอร์ แอบไฮโซ
36. อาคารหลังแรกของจุฬาฯ หนีไม่พ้นตึกอักษรศาสตร์1 ศิลปะงดงามแบบตะวันออกผสมตะวันตก ถูกสร้างในสมัยรัชกาลที่ 6
37. ตึกที่สูงที่สุดในจุฬาฯ คือ ตึกมหามกุฎ หรือที่เรียกติดปาก sci26 ที่คณะวิทยาศาสตร์
38. ตึกขาว(ชีววิทยา 1) ถ้าปี1 เดินขึ้นบันไดกลางตึกขาวจะซิ่วหรือไม่ก็ไทร์...แต่ความจริงแล้วเมื่อก่อนเดิมนี้ ตึกขาวเป็นตึกปฏิบัติการวิทยาศาสตร์แห่งแรกในประเทศไทย ผู้ที่เป็นอาจารย์สมัยนั้น ไม่ใช่คนสามัญธรรมดาแต่เป็นพระบรมวงศานุวงษ์ เด็กปี 1 ไม่รู้ถ้าขึ้นตรงนั้นจะเป็นห้องพักอาจารย์ทำให้เป็นการรบกวนอาจารย์ +ไม่ได้ทำความเคารพอาจารย์ที่เป็นพระบรมวงศานุวงษ์ด้วย. . .ซ้ำตรงนั้นด้านล่างยังเป็นที่เก็บอาจารย์ใหญ่สำหรับนิสิตแพทย์ในสมัยนั้นด้วย
39. ตึกเรียนคณะศิลปกรรมศาสตร์ มีตุ๊กแก (ตัวใหญ่มาก) ถูกสตัฟฟ์ไว้ แล้วถูกเอาไปแปะไว้มุมบนขวาของตึก
40. คณะสถาปัตย์ มีธรรมเนียมที่ว่าห้ามนิสิตคณะเดินเหยียบ "สถ" บนพื้นถนน
41. คณะครุศาสตร์ ห้ามนิสิตชั้นปีที่ 1 เดินบันไดกลาง เพราะว่ากันว่าจะเรียนไม่จบ
42. คณะวิศวกรรมศาสตร์ ห้ามนิสิตชั้นปีที่ 1 ใช้ลิฟท์ตรงติดกับห้องทะเบียน ให้เดินขึ้นบันไดเท่านั้น
43. ปราสาทแดง หรือ ตึกแฝด ที่สร้างเลียนแบบให้เหมือนกัน (สร้างตั้งแต่เริ่มก่อตั้งจุฬาฯ เชียวนะ) ถึงแม้จะเป็นแฝด แต่ก็มีอะไรที่แตกต่างกันคือ ปูนที่อยู่ที่อิฐแต่ละก้อน ตึก1จะแบบเว้าเข้า ตึก2จะนูนออก ของเจ๋ง ๆ แบบนี้ไปชมได้ที่คณะหนุ่มหล่อ พ่อรวยแถมฉลาดเป็นกรด --- > วิศวะเท่านั้น
44. อย่าถ่ายรูปคู่กับพญานาคตรงหัวบันไดที่คณะอักษร (ยกเว้นพี่บัณฑิต) และอย่าขึ้นไปบนสี่เสาเทวาลัยเชียว เพราะมีเรื่องเล่าว่าจะทำให้เรียนไม่จบ
45. คณะสหเวช ตกบันไดคณะแล้วจะโชคดี แต่มันตกง่ายมากอะ
46. วิดยา ตอนสอบฟิ หรือแคว ให้เอาขนมปังไปเลี้ยงปลาหน้าตึกฟิ แล้วจะดี และจะมีคนเลี้ยงข้าวด้วย
47. วิดวะ ถ้าตั้งใจมองบ่อเห็นเต่าในบ่อได้ a เห็นตะพาบในบ่อได้ f เห็นกี่ตัวได้เท่านั้นตัว
48. เหมือนจะเคยอ่านเจอในหนังสือเสด็จประพาสยุโรปครั้งแรกของสมเด็จพระปิยมหาราช (Premier voyage en Europe) ว่าท่านเคยเสด็จฯประเทศฝรั่งเศส ทางการของเขาเลยให้เกียรติท่านโดยการใช้ชื่อ "Chulalongkorn" เป็นชื่อถนนหนึ่งในกรุงปารีส (จริง ๆ ถนนนั้นเป็นชื่ออื่นมาก่อนแล้วค่อยมาเปลี่ยนเป็นชื่อ "Chulalongkorn" ภายหลังจากที่ท่านเสด็จฯ)
49. วันที่ 23 ต.ค. ของทุกปี นิสิต-คณาจารย์-บุคลากรจุฬาฯ จะไปทำพิธีเคารพสักการะพระบรมราชานุสาวรีย์พระบรมรูปทรงม้า (เหมือนอยู่ในรั้วในวังกลาย ๆ เลย ศักดิ์สิทธิ์มาก ๆ และทั้งสามพิธีการนี้ จะออกข่าวทางสื่อโทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ ทุกปี)
50. เมื่อถึงวันงานประเพณีต้อนรับน้องใหม่ทุก ๆ ปี นิสิตรุ่นพี่จะนำใบหรือกิ่งจามจุรีเล็ก ๆ มาผูกริบบิ้นสีชมพูคล้องคอให้นิสิตใหม่เพื่อเป็นการต้อนรับเข้าสู่จุฬาฯ อาณาจักรแห่งจามจุรีสีชมพู
51. การรับน้องใหม่ของจุฬาฯที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ในปลายเดือนพฤษภาคม น้องใหม่ทั้งหลายจะได้รับการคัดสรรเข้าบ้าน ซึ่งชื่อบ้านรับน้อง ก็จะมีหลากหลาย แต่กว่าครึ่งจะแปลได้สองแง่สองง่าม
52. เรื่องรับน้องก้าวใหม่ยังไม่จบ กิจกรรมที่ทำกันก็จะเน้นการเต้น กิน เต้น และก็เต้น เพลงฮิตในการสันทนาการที่เด็กจุฬาฯเต้นเป็นกันทุกคนคือ เพลง"หอยจี้ลี่"
53. ประเพณีการโต้วาทีน้องใหม่ของชมรมวาทศิลป์ เรียกสั้น ๆ ว่า "โต้ชี่" = โต้วาทีของเฟรชชี่ อาจารย์แม่มาเป็นกรรมการการโต้วาทีของน้องใหม่ของจุฬาฯ ติดกันมา 25 ปีแล้ว
54. คำว่า "SOTUS" มีมานานประมาณปี 2462 โดยนิสิตจุฬาฯ รุ่นนั้นสรรหาคำที่มีความหมายลึกซึ้ง มาประกอบกันเป็นคำว่า SOTUS
55. เน็คไทด์ของวิศวะนั้น เป็นธรรมเนียมที่น้องปี1 จะได้รับต่อๆมาจากพี่ปี 2 ใช้ตกทอดไปเป็นรุ่น ๆ ไปเรื่อย ๆ
56. นิสิตหญิงคณะนิเทศศาสตร์ใส่พลีตสีดำตลอดปี 1 แต่นิสิตหญิงคณะครุศาสตร์ใส่พลีตสีกรมท่าตลอดปี 1ส่วนนิสิตชายคณะวิศวะและครุศาสตร์ ให้ใส่กางเกงสีกรมท่า (แต่ถ้าปีอื่น ๆ ใส่สีดำก็ไม่ว่ากัน)
57. โทษทัณฑ์ที่หนักที่สุดในคณะรัฐศาสตร์สมัยก่อนที่รุ่นพี่ใช้ลงโทษน้องคือ "การโยนนํ้า" ซึ่งบรรยากาศของคณะในสมัยก่อนก็เอื้ออำนวย โดยบริเวณหน้าคณะฝั่งอังรีดูนังต์ จะมีคลองอรชรและมีสะพานข้ามมีชื่อว่า สะพานวรพัฒน์พิบูลย์ นอกจากนี้หน้าตึก 3 ยังมีบ่อนํ้าขนาดใหญ่ของสภากาชาด และเมื่อน้อง ๆ กระทำความผิดกฎที่รุ่นพี่บัญญัติไว้ เช่น ขึ้นบันไดหน้าตึก1 นั่งรับประทานอาหารที่โต๊ะseniorในโรงอาหาร ก็จะถูกชำระโทษโดยการจับโยนลงนํ้า ซึ่งปัจจุบันทั้ง2แห่งถูกถมเพื่อสร้างตึก การโยนนํ้าจึงสิ้นสุดไปโดยปริยาย
58. สถานีรถไฟใต้ดินที่สามย่าน เขียนว่า " สิ่งปลูกสร้างนี้ตั้งอยู่บนพื้นที่ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย "
59. การเดินจากฝั่งคณะวิทยาศาสตร์ไปฝั่งคณะนิเทศฯ ไปง่ายๆโดยไม่ต้องขึ้นสะพานลอย เพราะจุฬาฯหรูกว่านั้น คือ มีอุโมงค์เชื่อมสองฟากถนนด้วย
60. รู้ไหมว่าในจุฬาฯ(ฝั่งในเมือง) ถนนมีชื่อ NickName อยู่สองสาย คือ Art Street = ตั้งแต่คณะสถาปัตย์มาศิลปกรรมจนถึงอักษรฯ (เกี่ยวกับศิลป์) ส่วนอีกถนนหนึ่งก็คือ Hi-So Street = ตั้งแต่รัฐศาสตร์ไปถึงเศรษฐศาสตร์ไปสุดที่คณะบัญชีไง ส่วนสามแยกปากห-ม-า ก็ต้องที่วิศวะเท่านั้น !!!!!
61. โรงอาหารที่ขึ้นชื่อในความอร่อยคงเป็น โรงอาหารคณะรัฐศาสตร์ มีเมนูหลักจากร้านก๋วยเตี๋ยวอดทน ด้านโรงอาหารคณะอักษรฯ ไม่แพ้กัน งัดเมนูเด็ดๆ..ทั้งนั้น คณะวิศวะ มีความหลากหลายในอาหาร หนุ่มๆหล่อเพียบ โรงอาหารบัญชี&เศรษฐศาสตร์ อยู่ที่ตึกใหม่ สีขาว โปร่งโล่งสบาย ลมเย็นมาก ๆ ด้วย แต่พอฝนตกทีก็...โรงอาหารคณะทันตะ แหล่งรวมอาหารอร่อยๆ มากมายเช่นกัน ฝั่งครุฯ ก็มีเครื่องดื่มขึ้นชื่อ คือ โอเรโอ้ปั่นใส่วีฟครีม ( ข้าวเหนียวไก่ย่าง อักษรฯ น้ำปั่น ครุฯ ไอติม บัญชี )
62. กว่าร้อยละ 60 ของนิสิตจุฬาฯ ต้องเคยกินเวเฟอร์ ที่สหกรณ์จุฬาฯ ศาลาพระเกี้ยว...เพราะกลิ่นที่ชวนไปลิ้มลองแน่ๆเลย
63. หนุ่มที่สาวคณะต่างๆหมายปองมักจะอยู่ฝั่งในเมือง เช่น สถาปัตย์ วิดวะ หรือ แม้กระทั่งหนุ่มๆ สิงห์ดำ (รัฐศาสตร์) สาวๆก็ไม่แพ้กัน สาวสวยที่ขึ้นชื่อในจุฬาฯ ก็ต้องยกให้อักษรฯ รัดสาด บัญชี...ทั้ง สวย รวย เก่ง...อืม!
64. มีเรื่องเล่าขานว่า ถ้าผู้หญิงคนไหนเดินสะดุดลานเกียร์ จะได้แฟนเป็นเด็กวิศวะ (ต้องรีบไปซะแล้ว!!)
65. สถานที่ที่เหมาะแก่การไปนั่งสวีทกัน คือ หอกลาง (อาคารมหาธีรราชานุสรณ์:หอสมุดกลาง) ด้วยวิวที่ดูเป็นเมืองนอกมาก มีวิว ตึกหอพักหญิงสีน้ำตาล ยิ่งดูยิ่งโรแมนติก
66. เด็ก self จัดในจุฬาฯ ต้องยกให้ นิเทศฯ ศิลปกรรมฯ (สินกำ)...แรงมากๆ...ขอบอก สาวสวย - อักษรฯ บัญชี สาวหรู ไฮโซ - รัดสาด สาวเปรี้ยว – นิเทศ สาวแรง - สินกำ สาวห้าว - วิดวะ สาวดุ - ครุ สาวเคร่ง – นิติ
67. คนภายนอกชอบมองว่าเด็กจุฬาฯเป็นพวกเหยียบขี้ไก่ไม่ฝ่อ แต่จริงๆควรมองเด็กจุฬาฯจากภายในและความสามารถมากกว่า
68. คู่รักคู่แค้นของเด็กจุฬาฯ คือ เด็กธรรมศาสตร์ งานบอลแต่ละครั้ง ต้องประชันกันให้เหนือกว่ากัน ซึ่งค่าใช้จ่ายจากงานบอล แต่ละครั้ง สามารถซื้อบ้านหรูๆได้มากกว่า 3 หลัง
69. เพลงที่จุฬาฯกับธรรมศาสตร์มีเหมือนกัน คือ " เดินจุฬาฯ-เดินมธ. " (แต่เนื้อเพลงไม่เหมือนกัน ชื่อเพลงเหมือนกัน) เพลง เดินจุฬาฯ เป็นเพลงปลุกใจให้ฮึกเหิม ในการต่อสู้ที่ดีที่สุด อ้าว....เดิน เดิน เถอะรา นิสิต มหาจุฬาลงกรณ์
70. มีเพลงหนึ่งที่บอกเล่าการใช้ชีวิตในจุฬาฯ คือ เพลงจามจุรีศรีจุฬาฯ...ตอนช่วงสุดท้ายของเพลงถือเสมือนการเตือน เรื่องการเรียนที่ฟังแล้วซึ้งจริงๆ
71. เพลงท่อนที่บอกความเป็นจุฬาฯได้ดีที่สุด คือ- นํ้าใจน้องพี่สีชมพู ทุกคนไม่รู้ลืมบูชา พระคุณของแหล่งเรียนมา จุฬาลงกรณ์- พระนามจุฬาฯ สูงส่ง ยืนยง ตราบชั่วดินฟ้าเอย- ณ อุทยานนี้งามด้วยจามจุรี ... เขียวขจี แผ่ปกพสกจุฬาฯ- สีชมพู เชิดชูไว้คู่แดนไทย แสนยิ่งใหญ่และเกรียงไกรในวิทยา- ชโย ชโย จุฬาฯ สถานศึกษาสง่าพระนาม
72. เพลงท่อนที่บอกความเป็นนิสิตจุฬาฯ ได้ดีอีกเหมือนกัน คือ- นิสิตพร้อมหน้า สัญญา...ประคอง ความดีทุกอย่างต่างปอง- น้องจุฬาฯ พี่จุฬาฯ พร้อมกันมารื่นฤดี รักเราพูนเพิ่มทวีนิจนิรันดร์- หมายเอาจามจุรี เป็นเกียรติเป็นศรี ของชาวจุฬาฯ
73. หลายคณะ ไปไหว้พระบรมรูป 2 รัชกาลตอนวันเริ่มสัปดาห์สอบ ถ้าเป็นวันอังคารเอากุหลาบชมพูไปถวาย วันอื่นธูป 9 ดอก “ขอพรได้แต่ห้ามบน”
74. บูม Baka เป็นบูมที่ไม่เคยมีใครให้เหตุผลได้ว่า ทำไมต้อง baka ทำไมต้อง bow bow....
75. Boom ของจุฬาฯ มี Boom 2 แบบด้วยกันคือ1. Boom Ba La Ka...Bow Bow Bow…Chik Ka La Ka ...Chow Chow Chow…Boom Ba La Ka Bow…Chik Ka La Ka Chow…Who are we ?...CHULALONGKORN…Can you see Laaa….. 2. Baka..Bowbow..Cheerka..Chowchow..Babow..Cheerchow..Who are we ?.. CHULALONGKORN..Can you see Laaa…* แบบที่ 2 จะเป็นที่นิยมมากกว่า แบบที่ 1 จะมาจากเพลง C.U.Polka
76. ที่คณะบัญชี มีการ Boom ดำ / Boom กลางสนามด้วย (แปลก ๆ ดี)
77. Boom ของคณะวิศวะนั้นที่เกือบจะเป็นแฝดกับBoom ของจุฬาฯเลย ตั้งข้อสันนิษฐานไว้ว่า เป็นเพราะเมื่อนานมากหลายสิบปีที่แล้วมีนิสิตชายวิศวะคิด Boom Baka ได้ เลยเอามาใช้กับวิศวะ (Who are we? - Intania) แต่เขาเป็นแฟนกับนิสิตหญิงที่เป็นประธานเชียร์ของจุฬาฯ เลยเอา Boom Baka มาใช้ของจุฬาฯ (Who are we? - Chulalongkorn) < - - - ฟังต่อ ๆ มา ไม่รู้ว่าถูกผิดยังไงนะ
78. คณะรัฐศาสตร์หรือชาวสิงห์ดำ เป็นคณะเดียวในจุฬาฯ ที่ไม่ใช้ คำว่า "Boom" แต่พวกเขาใช้คำว่า "ประกาศนาม" แทน >>> นี่....นัก..รัฐศาสตร์79. ที่จุฬาฯ สามารถใช้พาหนะได้หลายอย่างและสะดวก คือ BTS,MRT,รถป็อป,รถยนต์,เฮลิคอปเตอร์(สภากาชาด)< - - - แต่อันนี้คงไม่สะดวกมั้ง และเรือ (ที่สะพานหัวช้าง)
80. เมษายน 2548 นิตยสารไทม์ได้เสนอผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก 100 แห่งคือ จุฬาฯ อยู่ในอันดับที่ 60 ด้านการแพทย์และวิทยาศาสตร์การแพทย์ อยู่ในอันดับที่ 46 และ 50 ในสายสังคมศาสตร์(รัฐศาสตร์,นิติศาสตร์,เศรษฐศาสตร์,อักษรศาสตร์) และมนุษยศาสตร์(คณะอักษรศาสตร์และครุศาสตร์)
81. จุฬาฯ มีทุนเล่าเรียนฟรีแบบไม่ต้องใช้ทุนคืนด้วยนะ เพราะจุฬาฯ พยายามที่จะไม่ให้นิสิตไม่ได้เล่าเรียนเนื่องจากปัญหาทางทุนทรัพย์ และยังมีทุนอาหารกลางวันฟรีให้นิสิตได้ทานฟรี ๆ ด้วย..แบบนี้ล่ะ สมกับเป็นสถาบันชั้นนำร่วมรับผิดชอบต่อสังคม
82. แทบจะไม่มีนิสิตจุฬาฯ คนใดที่จำเลขประจำตัวนิสิตไม่ได้และการลืมบัตรประจำตัวนิสิตในวันหนึ่ง ๆ เหมือนกับว่าเราแทบจะหมดสิทธิ์ทำอะไรหลาย ๆ อย่างไปเลย (แอบเห็นเด็กจุฬาฯ หลายคนแล้วนะที่พอจะเข้า BTS,MRT แต่สอดบัตรผิด ใช้บัตรนิสิตสอดเข้าไป ต่อไปคงต้องขอทางกรมขนส่งให้เด็กจุฬาฯ ใช้บัตรนิสิตแทนบัตรรถไฟฟ้าแล้วล่ะมั้ง !!!)
83. บุตรของนายกฯทักษิณ ชินวัตร กำลังศึกษาอยู่ที่จุฬาฯ คือ แพทองธาร เรียนอยู่คณะรัฐศาสตร์ ภาคสังคมฯ
84. จุฬาฯ มีสถานีวิทยุของจุฬาฯ เป็นของตัวเองอีกที่ คลื่น 101.5 FM
85. ศูนย์หนังสือ จุฬาฯ ยังได้มีการร่วมกับมหาวิทยาลัยต่าง ๆ จัดตั้งศูนย์หนังสือขึ้นมาร่วมกันด้วยทั้งในต่างจังหวัดและกรุงเทพฯ
86. อักษร "ฬ" ที่ใช้เรียกสั้น ๆ แทนจุฬาฯ นั้น ยังเป็นตัวอักษรลำดับที่ 42 ใน 44 ตัวอักษรไทยด้วย สื่อมวลชนและคนทั่วไปชอบใช้คำว่า "รั้วจามจุรี-พี่พระเกี้ยว-ลูกพระเกี้ยว-รั้วสีชมพู-" แทนจุฬาฯ
87. เขาว่ากันว่าถ้าคู่รักมาลอยกระทงที่จุฬาฯ แล้วจะมีอันเลิกรากัน (จึงนิยมไปลอยที่โรงเรียนเตรียมฯ แทน) แต่ถ้าเป็นเพื่อนกันมาลอยด้วยกันก็จะเป็นแฟนกัน88. จุฬาฯ ทำดินสอไม้ยี่ห้อ จุฬาฯ เองแล้วนะ นอกจากนี้ยังมีกระเป๋าหลายรูปแบบหลายสี สมุด เสื้อ หมวก ร่ม ผ้าขนหนู กรอบรูป แฟ้ม นํ้าดื่ม ที่ทับกระดาษ ฯลฯ ที่เป็นตราจุฬาฯ
89.“จีฉ่อย” มีทุกสิ่งในโลก หุหุ อยากได้ไรมาร้านนี้
90. ร้านสเต็กสามย่านที่ใช้โต๊ะเหล็ก เขียนตัวนูนบนโต๊ะว่า "จุฬาฯ"
91. บัตรจอดรถสยามสแควร์มีตราองค์พระเกี้ยวอยู่บนบัตรด้วย แสดงถึงความเป็นเจ้าของที่ดิน
92. คะแนนอังกฤษ FE ในจุฬาฯ คณะที่คะแนนสูงสุด3อันดับแรก (โดยส่วนมาก) คือ 1.แพทย์ 2.วิศวะ 3.อักษร
93. โรงเรียนเตรียมอุดมฯ แต่ก่อนผู้ที่จะเข้าจุฬาฯต้องมาศึกษา ณ ที่นี่ แต่ก่อนชื่อว่า โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และโรงเรียนเตรียมฯ ยังใช้ตราสัญลักษณ์พระเกี้ยว(น้อย)-ต้นจามจุรี- สีชมพู-การบูม Baka เป็นสัญลักษณ์ของสถาบันเหมือน ๆ กับชาวจุฬาฯ อีกด้วย
94. ฯพณฯ ศ.ม.ล.ปิ่น มาลากุล เคยแต่งบทกลอนเอาไว้ เรียกจุฬาฯเป็น "แม่" ส่วนเตรียมอุดมศึกษาเป็น "ลูก" (เนื้อหากลอนนี้ประมาณว่าตอนที่เตรียมฯ จะถูกตัดสร้อยชื่อ "แห่งจุฬาฯ" ออก ท่านก็ได้แต่งกลอนเพื่อเป็นการระลึกถึงว่ามีความผูกพันกันแค่ไหน ถึงขนาดว่าจบม.ปลายที่นี่แล้วมีการเดินแถวเข้าจุฬาฯ ได้ทันทีเลย เมื่อก่อนเด็กเตรียมฯ ก็มาทำพิธีประดับพระเกี้ยวน้อยที่หอประชุมจุฬาฯ ด้วย ส่วนสาเหตุที่เตรียมฯ ถูกตัดสร้อยชื่อออกเพราะ ประชาชนตอนนั้นก็มีเสียงพูดกันว่า๑. ทำไมจึงให้โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาแห่งจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย ผูกขาดการเข้าจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัยเพียงโรงเรียนเดียว๒. ขอให้โรงเรียนอื่น ๆ เปิดชั้นเตรียมอุดมศึกษาด้วย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๘ ก็เคยสอนมาแล้วถ้าโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาแห่งจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัยสอนดี นักเรียนเตรียม ฯ ก็คงจะเข้ามหาวิทยาลัยได้หมดตามเดิมไม่เดือดร้อนอะไร๓. อยากให้นักเรียนที่จบมัธยมศึกษาปีที่ ๖ ได้เรียนต่อจะได้มีความรู้สูงขึ้น มากกว่าที่จะมุ่งเข้าเรียนต่อในมหาวิทยาลัยดังนั้น โรงเรียนเตรียม ฯ จึงได้โอนไปสังกัดกรมสามัญ และได้ตัดสร้อยชื่อ " แห่งจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย " ออก เหลือเพียงแต่ " โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา " เฉย ๆ) <--- เหมือนโรงเรียนเตรียมฯ ถูกอิจฉายังไงไม่รู้อ่ะนะ ยังไงเด็กที่นี่ก็เก่งอ่ะ
95. คะแนนในการสอบเข้ามหาวิทยาลัย จุฬาฯมีคะแนนนำมาตลอดทุกคณะ/สาขาวิชา...และที่นี่เปรียบเสมือนที่รวมหัวกะทิของประเทศ เด็กมัธยมทั่วประเทศ...กว่าร้อยละ 70 ของเด็กมัธยม กำลังกวดวิชาเพื่อความหวังในการเข้าศึกษาในสถาบันแห่งนี้...แต่การเรียนในจุฬาฯ หนักยิ่งกว่าการเอ็นทรานซ์เท่าตัว96. ในปีการศึกษา 2548 ไม่เคยมีคะแนนตํ่าสุดที่สูงมากเป็นประวัติศาสตร์ขนาดนี้ คือ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ เอกภาษาญี่ปุ่น มีคะแนนตํ่าสุดที่สูงที่สุดในประเทศในการสอบ 4 วิชาแบบสายศิลป์ (ไทย,eng,สังคม,ภาษาต่างประเทศที่ 2 หรือ เลข 2) คือ 351คะแนน จาก 444.44 และรองลงมาคือ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ ภาคIR คือ 330 คะแนน จาก 444.44 คะแนน
97. ภาพยนตร์เรื่อง "มหา'ลัย เหมืองแร่" เกี่ยวข้องและเกิดขึ้นกับอดีตนิสิตวิศวะ จุฬาฯ โดยตรงในปีพ.ศ. 2492 พร้อมประโยคหนึ่งที่มาพร้อมกับเรื่องนี้ "เลือดสีชมพูไม่มีวันจาง แต่สีชมพูจะจางด้วยนํ้าลาย"/ "จุฬาฯ ไม่ต้องการผม "
98. จุฬาฯ เป็นมหาวิทยาลัยเดียวในประเทศไทยที่เวลามีเสด็จฯ ต้องมีการตั้งซองรับเสด็จ นิสิตหญิง-ชาย นั่งพับเพียบกับพื้นถนนและก้มกราบบนพื้นเวลามีรถยนต์พระที่นั่งผ่าน และสาเหตุของการตั้งซองรับเสด็จฯ เกิดจาก <<"เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในวันศุกร์ ที่ 20 กันยายน 2506 ณ 15.00น. ยังจารึกอยู่ในความทรงจำผู้ที่เกี่ยวข้อง หรือทราบเรื่องราวโดยตลอด โดยเฉพาะคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขณะที่รถยนต์พระที่นั่ง แล่นออกจากพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน จะเลี้ยวซ้ายไปตามถนนพระราม 5 มีนิสิตคณะวิศวกรรมศาสตร์กลุ่มหนึ่งเรียงรายรอเฝ้ารับเสด็จอยู่ ได้คุกเข่าลงและเข้าหมอบแทบประตูพระที่นั่ง ซึ่งทำให้จำต้องหยุดรถชั่วขณะ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัส ถามถึงความประสงค์ที่มารอดักหน้ารถพระที่นั่งครั้งนี้ ว่ามีความประสงค์อย่างไร นิสิตซึ่งเป็นหัวหน้ากลุ่มได้กราบบังคมทูลโดยย่อ แล้วนำฎีกาขึ้นทูลถวาย เมื่อสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงรับฎีกาแล้ว ทรงมีพระราชดำรัสแก่นิสิตเหล่านั้นเล็กน้อย แล้วรถยนต์พระที่นั่งก็เคลื่อนที่ต่อไปยังจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทโดยใกล้ชิด ดั่งเช่นทุกปีมา ฎีกาที่กลุ่มนิสิตทูลเกล้าฯ นั้น ได้ขอพระราชทานอภัยโทษ อันสืบเนื่องมาจากสาเหตุเกิดการพิพาทกันระหว่างนิสิตคณะวิศวกรรมศาสตร์ 9 คน กับรองอธิการบดีฝ่ายปกครอง ซึ่งโดยสาเหตุอันแท้จริงนั้น ไม่อาจสืบทราบได้ถ่องแท้ เพียงแต่ทราบว่า นิสิตวิศวฯ 2 คน ถูกคัดชื่อออกจากทะเบียนมหาวิทยาลัย นอกนั้นมีความผิดหนักเบาลดหลั่นกันลงไป โดยได้รับโทษให้พักการเรียนมีกำหนดและเพิกถอนสิทธิในการสอบไล่ ซึ่งปรากฏว่าภายหลังที่ทางมหาวิทยาลัยได้ออกคำสั่งลงโทษดังกล่าวแล้ว ก็ได้มีการอุทธรณ์ การประท้วง และการวิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรง ซึ่งมีทีท่าว่าไม่อาจจะยุติลงได้ ครั้นถึงเวลาดังกล่าวข้างต้น ด้วยพระบารมีและพระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้าล้นกระหม่อม เหตุการณ์อันทำท่าจะรุนแรงและลุกลามไปใหญ่โต ได้กลับคืนสู่สภาพปกติ เมื่อนิสิตทั้ง 9 คนได้ถวายฎีกาแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้มีพระราชดำรัสทรงตักเตือนนิสิตว่า“ในการที่จะถวายฎีกานั้น จะต้องมีความนึกผิดจริงๆทางใจด้วย ต้องยอมรับว่ากระทำไปแล้วเป็นความผิดจริง จึงจะให้อภัยกัน มิใช่เป็นการถวายฎีกาแต่เพียงโดยลายลักษณ์อักษร” เมื่อรถยนต์พระที่นั่งแล่นคล้อยไป นิสิตทั้ง 9 คนก็แยกย้ายกันกลับ ไม่ตามเสด็จไปทางมหาวิทยาลัย เนื่องจากอยู่ในระหว่างลงโทษ...ทรงมีพระราชดำรัสให้ที่ประชุมทราบถึงกรณี ที่เกิดขึ้นหน้าตำหนักจิตรลดารโหฐาน เกี่ยวกับนิสิตทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาพร้อมทั้งนำฎีกาออกไปให้ที่ประชุมดู รวมทั้งคำสั่งของมหาวิทยาลัย “ฎีกานี้นิสิตทั้งหลายที่ถูกทำโทษ เขียนมารับว่าทำผิดจริง การรับว่าทำผิดนี้ แสดงว่าเขารู้ตัวว่าทำผิด คนเราทำผิดครั้งเดียวนับว่าเก่ง นิสิตพวกนี้ไม่เคยบอกว่าทำผิดมาก่อน การที่เขาทำผิดและฎีกาบอกมาวันนี้ จึงอยากจะให้อธิการบดี และคณะอาจารย์อภัยเขาเสีย เนื่องในงานวันนี้”...ภายหลังที่กระแสพระราชดำรัสให้อภัยโทษแก่นิสิตจบลง บรรดานิสิตที่มีจำนวนล้นหอประชุมและคณาจารย์ ได้พากันปรบมืออยู่เป็นเวลานาน รวมทั้งอธิการบดีด้วย บรรยากาศภายในและภายนอกห้องประชุมมีแต่ความสดชื่น ร่าเริง เป็นที่น่าเสียดายที่ผู้ได้รับพระราชทานอภัยโทษไม่มีโอกาสได้รู้เห็น ซึ่งคงจะก่อให้เกิดความปิติปราโมทย์ ยิ่งกว่าจะได้ยินคำบอกเล่าจากเพื่อนฝูง">>
99. สมัยก่อน รู้หรือไม่ว่า นิสิตชายคณะรัฐศาสตร์และวิศวะไม่ถูกกัน ถึงขนาดยกพวกตีกันในวันไหว้ครูในปีพ.ศ.2504 รัฐศาสตร์เสียเปรียบตรงกำลังคนน้อยกว่า 4 ต่อ 1 จนร้อนไปถึงจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ นายกฯในสมัยนั้นต้องออกมาไกล่เกลี่ยด้วยตัวเอง มีคนว่ากันว่า “วิศวะชนะด้านยุทธวิธี แต่รัฐศาสตร์ชนะด้านยุทธศาสตร์”
100. เกียรติประวัติของจุฬาฯ ริเริ่ม สร้างสรรค์และได้รับการยอมรับนับถือคือ - วันที่ 24 เม.ย. 2472 จุฬาฯ ได้รับมอบหมายจากรัฐบาลไทยให้เป็นเจ้าภาพ"จัดการประชุมนานาชาติเกี่ยวกับสมุทรศาสตร์ที่ศาลาวิทยาศาสตร์"(ตึกขาว) คณะวิทยาศาสตร์ นับเป็นครั้งแรกที่มีการประชุมระดับโลกจัดที่เอเชีย- พฤษภาคม 2470 จุฬาฯ รับนิสิตหญิงจำนวน 7 คน เข้าเรียนสาขาแพทยศาสตร์(เตรียมแพทยศาสตร์-ผู้เขียน) ในคณะอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์ "นับเป็นครั้งแรกของเมืองไทยที่จัดสหศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา"- พ.ศ.2492 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชได้พระราชพระมหากรุณาธิคุณ"โปรดเกล้าฯ พระราชทานเพลงมหาจุฬาลงกรณ์เป็นเพลงประจำมหาวิทยาลัย" นับเป็นสถาบันอุดมศึกษาแรกที่ได้รับพระมหากรุณาธิคุณเช่นนี้" และได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นายเทวาประสิทธิ์ พาทยโกศล ดัดแปลงเพลงมหาจุฬาลงกรณ์เป็นเพลงโหมโรง "จุฬาลงกรณ์" ขึ้น เพื่อให้นิสิตใช้บรรเลงในการแสดงดนตรีไทย นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณพิเศษซึ่งได้พระราชทานเพลงประจำมหาวิทยาลัยรวม 2 เพลงซึ่งเป็นเพลงมหาจุฬาลงกรณ์ ทำนองสากล และเพลงโหมโรงมหาจุฬาลงกรณ์ - พ.ศ.2494 รัฐบาลได้มอบให้จุฬาฯ เป็นเจ้าภาพการจัดประชุม UNESCO ขึ้นที่ตึกอักษรศาสตร์ 1หรือเทวาลัยหรืออาคารมหาจุฬาลงกรณ์ในปัจจุบัน นับเป็นครั้งแรกในเมืองไทยที่มีการจัดประชุม UNESCO- 14 ก.พ. 2529 จุฬาฯ ได้จัดตั้งสำนักบริหารวิชาการขึ้นเพื่อเป็นศูนย์กลางของการเผยแพร่ผลงานวิจัยและการประดิษฐ์ผลงานทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของคณาจารย์และนิสิต เพื่อให้โรงงานอุตสาหกรรมหรือหน่วยงานภาคเอกชนนำไปใช้เชิงอุตสาหกรรมและเชิงพาณิชย์ เป็นสถาบันแรกของไทยที่จัดบริการดังกล่าวได้- 27 มี.ค. 2529 จุฬาฯ ได้จัดตั้งโครงการพิเศษหรือรับนักเรียนผู้มีความสามารถดีเด่นทางกีฬาเข้าศึกษาในจุฬาฯ เป็นสถาบันอุดมศึกษาแรกที่จัดบริการขยายโอกาสทางการศึกษาแก่ผู้มีความสามารถพิเศษ- 28 ก.ย. 2529 คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ประสบความสำเร็จในการฝังตัวอ่อนในวัวนมและสุกรเป็นครั้งแรกของการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีทางด้านการพัฒนาปศุสัตว์ในเอเชียอาคเนย์- 2 ส.ค. 2530 จุฬาฯ จัดตั้งสำนักงานทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของคณาจารย์และนิสิตผู้ประดิษฐ์ผลงานค้นคว้าวิจัย นับเป็นสถาบันแรกที่คุ้มครองสิทธิประโยชน์ของการประดิษฐ์คิดค้นผลงานอันเป็นสิทธิบัตรของชาวจุฬาฯ ได้- 21 ธ.ค. 2530 คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ประสบความสำเร็จในการผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจเป็นครั้งแรกในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์- ธันวาคม 2531 คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ประสบความสำเร็จในการผ่าตัดเปลี่ยนตับเป็นครั้งแรกในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์- 29 ก.ค. 2534 คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ จัดตั้งพิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีถ่ายภาพและการพิมพ์เป็นแห่งแรกของเอเชีย- 1 ต.ค. 2542 จุฬาฯ ได้จัดตั้งสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติขึ้นที่คณะวิทยาศาสตร์เป็นแห่งแรกและแห่งเดียวในประเทศไทย- พ.ศ. 2543 คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ประสบความสำเร็จในการช่วยให้เกิดการปฏิสนธิของเด็กนอกครรภ์มารดาเป็นครั้งแรกในประเทศไทย- คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯเป็นแห่งแรกที่ผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจ ปอด ตับ และทดลองเด็กหลอดแก้วได้สำเร็จเป็นแห่งแรกของเอเชีย - 20 ต.ค. 2543 มูลนิธิสนทนาธรรมนำสุขของท่านผู้หญิงมณีรัตน์ บุนนาคในพระสังฆราชูปถัมภ์ มอบพระไตรปิฎกจำนวนมากให้จุฬาฯ "จัดตั้งคลังพระไตรปิฎกนานาชาติ"- - พ.ศ. 2548 นิสิตแพทย์ จุฬาฯ พิชิตรางวัลชนะเลิศ การแข่งขันโครงการวิจัยของนิสิตนักศึกษาแพทย์ในเอเชีย จากการศึกษาตรวจหาเชื้อไวรัสไข้เลือดออกในยุงลายในฤดูแล้งก่อนที่โรคไข้เลือดออกจะระบาด - กรกฎาคม 2548 สถาบันวิจัยวัสดุและโลหะแห่งจุฬาฯ เสนอเสื้อนาโนดับกลิ่นกายได้ตัวแรกของไทย เป็นต้น